The 20/80 Rule (ทำ 20 ให้ได้ 80)

          เฉกเช่น ร่างกายของเรา ที่มีจุดสลบที่เมื่อโดนตึ แล้วจะสลบ เช่น ท้ายทอย โดนตีก็จะสลบได้ แต่ว่าตีแขนหรือขา ก็จะไม่สลบ ดังนั้น ชีวิตเราก็เหมือนกัน ที่เราจะต้องมาดูว่า มีจุดไหนบ้างที่จะ ทำ 20 ให้ได้ผลลัพธ์ 80 คือ ทำไม่เหนื่อยแบบเก่า แต่ผลลัพธ์จะได้มากกว่าเดิม
1) ปรับเปลี่ยนกรอบความคิด
    – เข็มนาฬิกา vs เข็มทิศ –> คนส่วนใหญ่ในโลก ทำงานด้วยเข็มนาฬิกา ไม่ใช้เข็มทิศ คุณต้องตอบคำถามนี้
“คุณกำลังพยายามมุ่งไปทางไหน และทำอะไร สำคัญกว่าคุณจะทำงานได้มากขึ้นหรือไม่ และทำได้ดีแค่ไหน”
“คุณกำลังทำสิ่งทีทำให้คุณบรรลุเป้าหมายหรือไม่”
    – เข็มนาฬิกา คือ ข้อผูกมัด การนัดหมาย แผนกำหนดการ เป้าหมาย กิจกรรมต่างๆ การสื่อสารกับทีม
    – เข็มทิศ คือ วิสัยทัศน์ คุณค่า หลักการ (กฎ) อัตลักษณ์ จิตสำนึก ทิศทางที่คุณดำเนินชีวิต (ถ้าชีวิตยังไม่ดี คนรอบข้างก็ฟีดแบคไม่ดีกับคุณ แสดงว่าคุณจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่าง เช่น หนังสือที่คุณอ่าน วิธีคิดของคุณ นิสัยของคุณ เป็นต้น)
2) กรอบความคิดกำหนดส่ิงที่คุณจะได้รับ
มองเห็น –> ปฏิบัติ –> ได้รับ —> มองเห็น —->
(จุดเริ่มต้นของผลลัพธ์ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้น ต้องดูแลกรอบความคิดของคุณให้ดี)
สภาวะการติดอยู่ในความเร่งรีบ (4 qaudrant of prioritize) เวลาส่วนใหญ่ควรอยู่กับงานสำคัญ แต่ไม่เร่งด่วน คือ การมองวิสัยทัศน์ การพัฒนาตนพัฒนาทีม การวางแผนงาน การกำหนดค่านิยม การสร้างสายสัมพันธ์ (บัญชีออมใจ ต้องปฏิบัติตนสม่ำเสมอต่อเนื่อง จึงจะชนะใจคน) การสอนอย่างถูกต้อง การสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ (ยิ่งมีปัญหากับใคร ยิ่งต้องสื่อสาร ความเงียบ คือ การเพิ่มปัญหา ไม่ฟัง ไม่ปรับ ยิ่งไปกันไม่ได้ สายสัมพันธ์ยิ่งแย่ไปกันใหญ่)
*** เอาเวลา 3 4 มาใช้กับ 2 สุดท้าย ทำ 2 มากขึ้น 1 จะลดลง เราจะมีความสุขกับการใช้ชีวิตอยู่กับ 2 ***
3) การยกระดับตน ด้วยการผนึกพลังความต้องการพื้นฐานทั้งสี่
   – กายภาพ เช่น ร่างกาย การแต่งกาย
   – สังคม เช่น การมีเพื่อน เข้าสังคม
   – สติปัญญา เช่น มนุษย์ความมีสติปัญญาเพิ่มพูน เมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดย ฟังซีดี อ่านหนังสือ เข้าสัมมนา
   – จิตวิญญาณ เช่น การคิดถึงองค์กร สังคม ประเทศชาติ ถ้าหากคิดระดับจิตวิญญาณ จะทำให้เราอัพเกรดความสามารถได้ เพราะเราจะมุ่งให้คุณค่ากับคนอื่น แล้วเราจะมีพลังล้นเหลือ
ศักยภาพเฉพาะของมนุษย์ 4 ประการ
  1. การรู้จักตนเอง
  2. จิตสำนึก (รู้เรื่องอะไรควรไม่ควร เช่น จรรยาบรรณ และการสำนึกคุณ) เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นใหม่อย่างมีจิตสำนึก
  3. ปณิธานแห่งอิสรภาพ (ควรต้องมีแรงฮึด เพื่อสร้างอิสรภาพให้ได้)
  4. จินตนาการสร้างสรรค์ (เพื่อสร้างความสำเร็จ)
4) การบริหารเวลาโดยการวางกรอบปี แต่จดจ่อรายสัปดาห์
(วางแผนงานรายปี และรายไตรมาส ซึ่งช่วงเวลา 3 เดือนเป็นช่วงเวลาที่คุณปรับอะไรได้ ไม่ยาวไม่สั้นเกินไป, ลงมาเนื้องานรายเดือน และรายสัปดาห์ ซึ่งจะครอบคลุมงานพัฒนาตน และเนื้องานเพื่อสร้างธุรกิจ แต่เราจะไม่จดจ่อรายวัน ซึ่งสั้นเกินไป เปรียบเสมือนคนหาเช้ากินค่ำ)
  1. เชื่อมโยงเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และปณิธานชีวิตของคุณ (ปณิธานที่เป็น ผู้นำที่ช่วยเหลือ เปลี่ยนแปลง ยกระดับชีวิตผู้คน) จงตอบคำถามเหล่านี้ปีละครั้ง
    1. อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุด ในชีวิตของคุณ
    2. อะไรคือส่ิงที่ทำให้ชีวิตของคุณมีความหมาย
    3. คุณอยากที่จะเป็นอะไร และต้องการที่จะทำอะไรในชีวิต
  2. กำหนดบทบาทของคุณ และส่ิงที่คุณต้องทำรายสัปดาห์ สิ่งที่ต้องทำในบทบาทต่างๆ เช่น ดาวน์ไลน์ อัพไลน์ ผู้จัดการ ผู้นำ เทรนเนอร์ เชียร์ลีดเดอร์ คนขององค์กร ซึ่งไม่ว่าจะสัปดาห์ไหน คุณต้อง “ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ”
  3. ปรับและเลือกเป้าหมาย ในพื้นที่ 2 สำหรับแต่ละบทบาท
  4. จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฉันทำสิ่งเหล่านี้ในสัปดาห์หน้า
    1. ฉันจะรู้สึกอย่างไร ต่อบทบาทที่ฉันเป็น
    2. จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฉันทำได้เพียงบางอย่าง
    3. ฉันจะได้รับผลแตกต่างต่อชีวิต ในทางบวกหรือไม่
    4. ถ้าฉันทำสิ่งเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ จะเป็นอย่างไร
    5. ฉันจะมีประสิทธิผลมากกว่าที่เป็นอยู่นี้หรือไม่

5. จัดตารางทำกิจกรรมประจำสัปดาห์

6. ซื่อสัตย์และรักษาวินัยในการปฏิบัติ

7. ประเมินผล

  1. ฉันได้บรรลุผลในเป้าหมายอย่างไรบ้าง
  2. ฉันได้เผชิญความท้าทายอะไรบ้าง
  3. ฉันได้ตัดสินใจอย่างไร
  4. ในการตัดสินใจ ฉันได้คิดถึงสิ่งสำคัญก่อนหรือไม่
  5. ฉันกำลังคืบหน้าไปสู่เป้าหมายรายปี และวิสัยทัศน์หรือไม่
5) การสร้างข้อตกลงแบบหวังผลร่วมกัน
องค์ประกอบ 5 ประการ
  1. ผลที่ต้องการ
  2. แนวทาง
  3. ทรัพยากร เช่น สื่อ บัตร เวลาของอัพไลน์
  4. ความรับผิดชอบที่วัดผลได้ เช่น จำนวนคนเข้างาน จำนวนคนรับเข็ม
  5. ผลที่จะตามมา
6) การปลดปล่อยศักยภาพจากภายในสู่ภายนอก
  1. ความน่าไว้วางใจ (ส่วนตัวและองค์กร) มีคุณลักษณะ ที่รักษาคำพูด วุฒิภาวะ ความใจกว้าง มีความสามารถ ทักษะ โครางสร้าง และการพึ่งพาซึ่งกันและกัน
  2. ความไว้วางใจ (มีข้อ 1 และเกิดข้อ 2, มี 5 ข้อ 2 ก็เกิ)
  3. ข้อตกลงแบบชนะ – ชนะ
  4. การกำกับดูแล
  5. โครงสร้างและระบบที่สอดคล้อง
  6. ความรับผิดชอบ ที่วัดผลได้
“เมื่อไรก็ตามที่คุณคิดว่าปัญหานั้นอยู่ที่โน่น ความคิดนั้นแหล่ะคือปัญหา” เราต้องแก้ที่ความคิดของเราก่อนจึงจะสำเร็จ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *